งานคุ้มครองเด็ก/แรงงานเด็ก

“วิ่งอย่างมีความสุขกับเด็กๆและดอกไม้” กิจกรรมสำหรับคนรักเด็กและรักสุขภาพ ในงานพบกับกิจกรรมสร้างสรรค์ดีๆมากมาย เราเปิดกว้างสำหรับทุกคนไม่ว่าจะมาเดี่ยว มาคู่ มาเป็นทีมหรือครอบครัว

มีจริงแต่ไม่มีตัวตน

งานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.)

๑.โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย

เป้าหมาย  : เพื่อให้เด็กลุกหลานแรงงานข้ามชาติ และเด็กกลุ่มเสี่ยง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา และรับรูถึงสิทธิเด็กและความรู้เกี่ยวกับงานอันตรายแลงานในรูปแบบที่เลวร้าย

วัตถุประสงค์  : เพื่อให้ลูกหลานของแรงงานข้ามชาติ และเด็กกลุ่มเสี่ยงที่อาจเข้าสู้ระบบการทำงานอันตราไม่เหมาะสมกับวัย หรืองานในรูปแบบที่เลวร้าย ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา และรับรู้เกี่ยวกับสิทธิเด็ก และมีความเข้าใจกับงานอันตราย และงานในรูปแบบที่เลวร้าย

ผลลัพธ์ : เด็ก และเด็กกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการได้รับการพัฒนาและได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเด็ก งานอันตราย และงานในรูปแบบที่เลวร้าย ร่วมถึงได้เข้าสู่ระบบการศึกษาขึ้นพื้นฐาน

ผลผลิต  : ลูกหลานแรงงานต่างชาติจำนวน ๕๓ คน แยกเป็นรายใหม่ จำนวน ๑๔ คน  ได้เข้าเรียนในระบบการศึกษา และอีกจำนวน  ๓๙ คน ที่ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา รวมทั้งปัจจัย ๔ในพื้นที่ ๒ ชุมชน คือ ชุมชนเปรมฤทัย และชุมชนสะพานปลา  อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เด็กกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษาได้รับความรู้เรื่องการป้องกันปัญหาแรงงานเด็ก งานอันตราย และสิทธิเด็กจำนวน ๖๐๙ คน

ผลการดำเนินงาน

          การดำเนินงานได้ดำเนินงานตามแผนโครงการโดยเริ่มจากการสำรวจพื้นที่การดำเนินงานและประสานงานหน่วยงานในพื้นที่เพื่อขยายพื้นที่การดำเนินงานได้แก่ ชุมชนแบริ่งใหม่ ชุมชนสันติคาม-พรสว่าง และมีแผนการขยายพื้นที่เพิ่มไปยังชุมชนคลองกะลาวนชุมชนสร้อยทอง เบื้องต้นได้ประสานงานและประชุมร่วมกับคณะกรรมการชุมชนแบริ่งใหม่ ชุมชนอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจข้อมูลชุมชน

          งานส่งเสริมสิทธิการศึกษาเด็กกลุ่มเสี่ยง ได้ดำเนินการสำรวจความต้องการเข้ารับการศึกษาของกลุ่มเป้าหมาย ประสานงานโรงเรียนต่างๆ ที่จะนำเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษา ประชุมเตรียมความพร้อมผู้ปกครองและเด็กก่อนเข้าสู่ระบบการศึกษา จัดการจัดซื้ออุปกรณ์การเรียน ชุดนักเรียนตามความจำเป็นรายกรณี ประสานงานรถรับส่งนักเรียนกลุ่มกัมพูชา  ในเทอมแรกของปีการศึกษา ๒๕๕๙ สามารถนำเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาจำนวน ๑๒ คน งานส่งเสริมการศึกษานอกระบบของกลุ่มแรงงานเด็กได้นำเด็กเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมการผลิตสื่อ และจัดกระบวนการอบรมทักษะชีวิตในกลุ่มเด็กกลุ่มเสี่ยง สนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กกลุ่มเสี่ยวจำนวน ๓๙ คน

            งานป้องกันและรณรงค์ต่อต้านการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบทีเลวร้าย ประสานงานชุมชนเกี่ยวกับแผนการจัดการอบรมให้ความรู้กลุ่มเด็กและผู้ปกครองในชุมชน แบริ่งใหม่ และสันติคาม ประสานงานโรงเรียนเป้าหมายเพื่อวางแผนการจัดการอบรมให้ความรู้เรื่องแรงงานเด็กและงานอันตราย ประชุมเครือข่ายเพื่อวางแผนการดำเนินงานในพื้นที่ และจัดการอบรมในโรงเรียนหาดอมราอักษรลักษณ์วิทยา มีจำนวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓  ผู้เข้าร่วมจำนวน ๑๗๒ คน โรงเรียนวัดโยธินประดิษฐ์ มีจำนวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมต้นจำนวน ๑๖๗ คน นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมร่วมแสดงนิทรรศการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กเนื่องในวันเยาวชน ณ ศาลาเอนกประสงค์จังหวัดสมุทรปราการโดยมีนักเรียนเข้ร่วมงานจำนวน ๒๗๐ คน       งานให้ความช่วยเหลือแรงงานเด็ก ให้ความช่วยเหลือกรณีแรงงานเด็กไทยตั้งครรภ์ประสบปัญหาไม่สามารถทำงานได้และไม่มีน้ำนมให้บุตรฝาแฝด สงเคราะห์นมผง และติดตามเรื่องการสิทธิการสงเคราะห์จากพมจ. และการสนับสนุนเงินอุดหนุนเลี้ยงดูบุตรของรัฐ

ผลสำเร็จของโครงการ

    ๑.  เกิดการประชุมผู้ปกครองเด็กเดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อรับทราบสถานการณ์ของบุตร หลานในแต่ละเดือน (ชุมชนเปรมฤทัย) ซึ่งนับเป็นฐานในการสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลบุตรหลานของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ

    ๒.  โรงเรียนที่เด็กกลุ่มแรงงานข้ามชาติเข้าศึกษา ให้การสนับสนุนการศึกษาของเด็กและเปิดโอกาสให้มีการจัดกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่เรื่องสิทธิเด็กและงานอันตราย ในโรงเรียน

    ๓.  เด็กแรงงานข้ามชาติ (พม่า กัมพูชา) จำนวน ๑๔ คน ได้เข้าศึกษาตามระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอีก ๓๙ คน ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา รวมทั้งปัจจัย ๔ในพื้นที่

    ๔.  เด็กนักเรียนกลุ่มเสี่ยงต่อการเข้าสู่ระบบแรงงานในโรงเรียนในพื้นที่  จำนวน ๖๐๙ คน ที่เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเด็ก ความรู้เรื่องการป้องกันปัญหาแรงงานเด็ก และงานอันตรายสำหรับเด็ก

๒.โครงการช่วยเหลือและพัฒนาเด็กต่างชาติ

เป้าหมาย :  เพื่อส่งเสริมทักษะและคุณภาพชีวิตแรงงานเด็กและครอบครัวในงานแปรรูปอาหารทะเลและงานอันตรายอื่นๆในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ  โดยการมีส่วนร่วมของเด็ก ครอบครัว ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคส่วนต่างๆ

วัตถุประสงค์       ๑.พัฒนากลไกการคุ้มครองและช่วยเหลือแรงงานเด็ก (โดยเฉพาะแรงงานเด็กต่างชาติ)

 ๒.พัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหารงงานเด็ก โดยการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน นายจ้าง สถานประกิจการ สถาบันการศึกษา องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

๓.สร้างกลไกชุมชนและการมีส่วนร่วมในการพัฒนากลไกการคุ้มครองและพัฒนาแรงงานเด็ก

  ๔.เสริมสร้างศักยภาพแรงงานเด็ก และเยาวชนทั้งเด็กกลุ่มเสี่ยง และแรงงานงานเด็กในการมีส่วนรวม  เพื่อปกป้องคุ้มครองและพัฒนาแรงงานเด็ก โดยเฉพาะแรงงานเด็กต่างชาติ

ผลลัพธ์ :กลุ่มเด็กต่างชาติกลุ่มเสี่ยง เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ มีทักษะชีวิตเรื่องการเท่าทันภัยรอบตัว จำนวน ๗๔ คน

ผลผลิต :กลุ่มแรงานเด็กและเด็กต่างชาติ มีความรู้เข้าใจในสิทธิของตนและมีส่วนร่วมสอดส่องดูแลและเฝ้าระวังปัญหาในพื้นที่

ผลการดำเนินงาน

        ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเสริมศักยภาพ ตลอดจนงานป้องกันภัยเสี่ยงต่างๆ ในกลุ่มเป้าหมายได้แก่ การจัดบริการการตรวจสุขภาพกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามารับบริการคือ เด็กชุมชนสะพานปลา  ทั้งหมด ๕๖ คน แบ่งเป็น ชาย ๒๔ คน หญิง ๓๒ คน สัญชาติ พม่า ๑๖ คน ไทย ๒ คน กะเหรี่ยง ๑๖ คน เด็กมีเอกสารการเกิด ๑๒ คน ไม่มี ๙ คน และไม่ระบุ ๑๓ คน สถานที่เกิด โรงพยาบาลปากน้ำ ๒๐ คน โรงพยาบาลตากสิน ๑ คน โรงพยาบาลศิริราช ๑ คน โรงพยาบาลบางพลี ๑ คน โรงพยาบาลบางประกอก ๑ คน จังหวัดอื่นๆ ๘ คน และจากพม่า ๒ คน

       กิจกรรม Play Day รูปแบบกิจกรรม ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของมูลนิธิที่มีการจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆทุกวันศุกร์ ณ ศาลาของเทศบาลโดยความร่วมมือกับเทศบาลปู่เจ้า กิจกรรมตอบคำถามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อเช็คความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมายในการดูแลสุขภาพเด็กๆและการเฝ้าระวังโรคติดต่อต่างๆ รวมถึงการให้ความรู้เพิ่มเติมในการตอบคำถามเรื่องสุขภาพ และกิจกรรมตอบคำถามเรื่องเอกสาร การเกิด เอกสารแรงงาน และเอกสารผุ้ติดตาม ของเด็กต่างชาติ และให้ความรู้ข้อมูลที่ถูกต้องในการทำเอกสารต่างๆ และกิจกรรมฐานความรู้และ Play Day มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จำนวน ๑๐๕ คน

     กิจกรรมพัฒนาทักษะตามวัย ในพื้นชุมชน เปรมฤทัย สะพานปลาซึ่งจะจัดขึ้นในทุกสัปดาห์ในพื้นที่เปรมฤทัยกำหนดทุกวันศุกร์ พื้นที่สะพานปลากำหนดทุกวันเสาร์  รวมการจัดกิจกรรมในครึ่งปีแรกทั้งหมดจำนวน ๓๘ ครั้ง การทำกิจกรรม เด็กมีการแบ่งปันกันมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ

     กิจกรรมประกวดบ้าน เพื่อส่งเสริมสุขลักษณะที่ดีในครัวเรือน เด็กที่เข้าร่วมโครงการประกวดบ้านเป็นการทบทวนความเข้าใจของเด็กเรื่องสุขภาวะและบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อครอบครัว เพื่อกระตุ้นความตระหนักให้กับเด็กและครอบครัว กลุ่มเด็กที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ๑๓ครอบครัว ภายหลังเหลือจำนวน๑๐ ครอบครัวเนื่องจากออกนอกพื้นที่

     กิจกรรม อบรมทักษะชีวิต  และ เท่าทันภัยรอบตัว วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต เตรียมความพร้อมเท่าทันภัยรอบตัว และให้พื้นฐานกิจกรรมเรื่องสิทธิเนื้อตัวร่างกาย สิทธิขั้นพื้นฐาน การจัดกิจกรรมครั้งที่ ๑ มีกลุ่มเด็กต่างชาติ เด็กกลุ่มเสี่ยง จำนวน ๑๘ คน จากชุมชน สะพานปลา เข้าร่วม ข้อสังเกต การตอบคำถามของเด็กๆ เรื่องความถนัดหรือความเก่ง เด็กส่วนใหญ่คิดไม่ค่อยออกและไม่เห็นว่าตนถนัดอะไรวิทยากรต้องกระตุ้นให้เด็กเห็นว่าสิ่งเล็กน้อยที่ทำได้ดีถือว่าเป็นความเก่งของตนแล้วไม่ต้องเปรียบเทียบกับผู้อื่น  คนที่รักมากที่สุดส่วนใหญ่เป็นคนในครอบครัว  สิ่งที่ชอบที่สุดในชุมชนออกมาในลักษณะพื้นที่ทางกายภาพ เช่น พื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่สนามเด็กเล่น และบ้านของตนเอง เมื่อรู้สึกกลัว เจอปัญหาคนที่จะไปหาส่วนใหญ่เป็นพ่อและแม่ เมื่อชมคลิปตัวฉันเป็นของฉันแล้วระบุพื้นที่ส่วนตัวของตนเองพบว่าเด็กบางคนวงรอบตัวทั้งตัวเพราะคิดว่าตัวของตนเองเป็นพื้นที่ส่วนตัวทั้งหมด จากการประเมินเด็กมีความเข้าใจเรื่องพื้นที่ส่วนตัวและรู้ในเบื้องต้นว่ารายกายของเราเป็นของเรา คนที่ดูแลร่างกายคือตนเอง การฝึกทักษะการปฏิเสธเด็กหลายคนยังไม่กล้าเปล่งเสียงตะโกนปฏิเสธได้ดีเท่าทีควร เนื่องจากความอายและไม่เคยถูกฝึกให้ปฏิเสธ 

      เด็กสามารถประเมินความรู้สึกต่อเหตุการณ์ต่างๆ ได้ดี มีบางเหตุการณ์ที่การสะท้อนความรู้สึกอยู่ระหว่างการหวาดกลัว และเสียใจ เช่น กรณีการถูกลักพาตัว เด็กบางคนกลัวขึ้นขั้นเสียใจและร้องไห้เนื่องจากกลัวไม่ได้กลับมาหาครอบครัวและอาจเสียชีวิต เมื่อสอบถามเกี่ยวกับการแก้ไขสถานการณ์เด็กๆ สามารถบอกได้ว่าให้ตะโกนขอความช่วยเหลือ แบบฝึกหัดการกำหนดชื่อผู้ใหญ่ที่ไว้วางใจ ๕ คน ส่วนใหญ่เด็กๆ จะกำหนดเป็นชื่อบุคคลในครอบครัว มีบางคนที่กำหนดชื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และคุณครูเข้าไปด้วย สรุปภาพรวมกิจกรรมเด็กๆ  เข้าใจเรื่องการดูแลร่างกายของตนให้ปลอดภัย รู้ว่าร่างกายเป็นของต้นเองต้องระวังไม่ให้ใครมาล่อลวงได้ โดยเฉพาะคนแปลกหน้า และเข้าใจหลักการตั้งคำถามเพื่อระวังภัย

       การเรียนรู้กระบวนการผลิตสื่อ และมีส่วนร่วมผลิตสื่อเพื่อพัฒนาแกนนำเด็กเยาวชนเรื่องการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์  และสื่อวีดีโอ  เพื่อการเป็นเครื่องมือในการทำงานพัฒนาชุมชนการสร้างกระบวนการเรียนรู้การเห็นคุณค่าในตนเอง และวิถีชีวิต   มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด ๒๕ คน  โดยมีกระบวนการอบรมหนังสือทำมือ เพื่อให้เด็กๆจำทำพจนานุกินอาหารพื้นถิ่นของชนเผ่าตนเอง   กระบวนการอบรมการผลิตสื่อวีดีโอ  และลงปฏิบัติการถ่ายภาพนิ่งเพื่อจัดทำหนังสือ และถ่ายวีดีโอ  การทำอาหารเมนูขนมจีนกะเหรี่ยงในชุมชนซึ่งมีผู้ปกครองเด็กเป็นวิทยากรจำนวน ๒ คนและมีเด็กและชาวชุมชนที่ได้รับประโยชน์จากการจัดกิจกรรม จำนวน ๕๐ คน     กระบวนการทดลองทำสื่อ  ทำให้เด็กเยาวชนเห็นศักยภาพของตนเอง เด็กส่วนใหญ่เป็นแรงงานเด็ก ไม่เคยจับกล้อง ไม่เคยถ่ายภาพ ถ่ายวีดีโอ  ผลงานที่ออกมาสร้างความภาคภูมิใจให้แก่แกนนำเด็กมาก