ด.เด็กกินดี (ปี60)

D-dek1 หนังสือปี2560ดาวโหลดที่นี่

การดำเนินงานของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กในปี ๒๕๖๐  ได้ดำเนินงานเพื่อป้องกัน คุ้มครอง พัฒนาเด็กในสภาวะยากลำบาก ผ่านโครงการต่างๆ จำนวนกว่า ๒๑ โครงการ  ๖๒  พื้นที่ ๑๘ จังหวัด  โดยมุ่งเน้นเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กดังนี้

สิทธิสวัสดิการด้านการศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษา และส่งเสริมสิทธิทางการศึกษา

สวัสดิการด้านสุขภาพ ได้แก่ การสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารทุกมื้อ ส่งเสริมพัฒนาทักษะชีวิต และเข้าถึงบริการความรู้ด้านสุขภาพ สุขอนามัยกับกลุ่มเด็กต่างชาติและเด็กกลุ่มเสี่ยง

การพัฒนาอย่างรอบด้าน สนับสนุนให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กๆ สร้างพื้นที่สุขภาวะ

สร้างกลไกชุมชนปกป้องเด็ก ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพแกนนำ ชุมชน ให้สามารถจัดการตนเอง มีทักษะในการดูแลเด็กๆ ในชุมชน การป้องกันปัญหาต่างๆ

พัฒนานวัตกรรมและเครื่องมือใหม่ๆ สร้างนักสื่อสารชุมชน พัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเท่าทันภาวะวิกฤติสังคม

– ป้องกันปัญหา ส่งเสริมกระบวนการทักษะชีวิตในกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในระบบและนอกระบบ

ผลักดันและพัฒนากลไก การมีส่วนร่วมผลักดันกฎหมาย นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเด็ก

 

จากการดำเนินงานมี จำนวนกลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับประโยชน์ แบ่งเป็น

ด้านการปกป้องคุ้มครองเด็ก จำนวน ๔,๖๑๐   คน

ด้านการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมสำหรับเด็ก จำนวน ๒๑,๔๙๓ คน

 

ผลสำเร็จของการดำเนินงานในปี ๒๕๖๐

๑. เด็กในสภาวะยากลำบากต้องการความช่วยเหลือ

                – เด็กที่อยู่ที่ในสภาวะยากลำบากและสภาวะวิกฤติได้รับการช่วยเหลือและคุ้มครอง ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษา สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียม ได้รับประทานอาหารครบทั้ง ๓ มื้อ ในปริมาณที่เพียงพอ รวมทั้งอาหารที่รับประทานมีความปลอดภัย

๒.แรงงานเด็ก เด็กต่างชาติ

– เด็กต่างชาติและเด็กกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาทักษะชีวิต และเข้าถึงบริการความรู้ด้านสุขภาพ สุขอนามัย ผู้ปกครองและสมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมโครงการและดูแลบุตรหลานให้ได้เข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๓. เด็กในภาวะวิกฤตใน ๓ จังหวัดภาคใต้

– มีส่วนร่วมในการสร้างกลไกชุมชนปกป้องเด็ก สามารถทำโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาพื้นที่  มีฐานสมาชิกธนาคารใจอาสาจาก ๔ มหาวิทยาลัย ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมเป็นแกนนำขับเคลื่อนงานกลไกชุมชนปกป้องเด็กในพื้นที่

– เด็กที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมในพื้นที่ได้รับการให้ความช่วยเหลืออุปกรณ์การเรียน และเครื่องใช้ที่จำเป็น

๔.เด็กชุมชนแออัดเมือง สามารถเผยแพร่การทำงานต้นแบบ และเริ่มมีกลุ่มแกนนำเด็กเล็ก  ที่ถ่ายทอดกระบวนการที่พัฒนาสร้างคุณค่าในตัวเอง  เรียนรู้ระเบียบวินัยของสังคม

๕.การพัฒนาเด็กเยาวชนในชุมชนชนบท กลุ่มเยาวชนนักศึกษาในภาคอีสาน ผลักดันโครงการให้เป็นการทำงานในราชวิชา และนำแนวคิดกระบวนการสื่อสร้างสรรค์ไปทำงานขยายผลกับโรงเรียน

 

๖. เครือข่าย องค์กร ชุมชน

– ผู้บริหารโรงเรียน และคุณครู ที่เข้าร่วมโครงการ มีแนวคิดและทักษะในเรื่องการดูแลและพัฒนาเด็กด้วยกิจกรรมต่างๆที่หลากหลายมากขึ้น

– พื้นที่เป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการนำแนวทางเรื่องกลไกชุมชนปกป้องเด็กไปใช้

– เกิดเครือข่ายมหาวิทยาลัย ในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนใต้ และภาคอีสาน

– แกนนำชุมชน เข้าร่วมเป็นแกนนำขับเคลื่อนงานกลไกชุมชนปกป้องเด็กในพื้นที่

– เกิดเครือข่ายองค์กรทำงานด้านเด็กเยาวชนในพื้นที่๓จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Safety Net)

– เกิดการขยายพื้นที่สร้างสรรค์ และพื้นที่การทำงานใหม่โดยชุมชน

– เกิดเครือข่ายรองเมืองเรืองยิ้ม ด้านศิลปะเพื่อการพัฒนาชุมชน

 

๗. เกิดพื้นที่ต้นแบบพื้นที่เรียนรู้/ เผยแพร่งานนวัตกรรม

– เกิดพื้นที่เรียนรู้ในชุมชน และโรงเรียนในพื้นที่ชุมชนเมือง จังหวัดศรีสะเกษ สามจังหวัดชายแดนใต้ และแม่ฮ่องสอน

– เผยแพร่งานสัมมนานานาชาติ “สิทธิการเล่นของเด็กในภาวะวิกฤติ”  International Seminar on Access to Play in Crisis  โดย นักวิจัยจาก ๖ ประเทศ ซึ่งงานวิจัยของมูลนิธิเป็นตัวแทนของประเทศไทย

 

๘. เกิดภาคีเครือข่ายผู้ร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน

-เทใจดอทคอม                                                     – ปลุกพลังเปลี่ยนไทย

– Food 4 Good                                                    – Hand Up

– มูลนิธิยุวรักษ์                                                    – ธนาคารจิตอาสา

 

๙. การขับเคลื่อนกฎหมายนโยบายด้านเด็กและเยาวชน

มูลนิธิฯได้เข้าร่วมขับเคลื่อนกลไกการคุ้มครองและพัฒนาเด็กเยาวชนที่สำคัญหลายระดับได้แก่

– ขับเคลื่อนพัฒนานโยบายสาธารณะเรื่องการพัฒนาพื้นที่เล่นสร้างเสริมสุขภาวะของเด็กปฐมวัยและวัยประถมศึกษา ในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

– ร่วม

– ขับเคลื่อนงานพัฒนาเด็กปฐมวัยในคณะกรรมการเด็กปฐมวัยจังหวัดสมุทรปราการ

– ขับเคลื่อนงานส่งเสริมและพัฒนาเด็ก เยาวชน ใน คณะกรรมการจัดงานสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชน